Custom Search

HHO fuel cell

20080829

HHO - HGV

สื่อข่าวรายงานในการประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม มีการแนะนำนายสุมิตร อิศรางกูร ณ อยุธยา ต่อกรรมการสภาฯ ว่าเป็นผู้ประดิษฐ์อุปกรณ์แยกก๊าซ "ไฮโดรเจน" จากน้ำแล้วนำมาเป็นเชื้อเพลิงกับรถยนต์ โดยมหาวิทยาลัยฯได้แลกเปลี่ยน และสนับสนุนเครื่องมือประกอบชิ้นส่วน และมีแผนถ่ายทอดความรู้ต่อนักศึกษา และบุคคลภายนอก

นายชัยพร รัตนนาคะ อดีต ผวจ.อุดรธานี นายกสภาฯเป็นประธาน ผศ.จรูญ ถาวรจักร อธิการบดี ได้

โดยรถต้นแบบ รถทดสอบ , H2O เทคโนโลยีแห่งอนาคต และ HGV. Hydrogas Vehicle เป็นรถเก๋งนั่ง 4 ประตู ขนาด 2,000 ซีซี. ก่อนที่นายสุมิตร อธิบายสิ่งประดิษฐ์ ตลอดจนขั้นตอนการทำงาน และมีการทดสอบ “ไฮโดรเจน” ที่ได้จากน้ำบริสุทธิ์ ด้วยการนำก๊าซใส่ขวดพลาสติก วางกับพื้นและใช้ไฟทดลองจุด เกิดระเบิดเสียงดัง และขวดกระเด็นไปไกล

นายสุมิตร เปิดเผยว่า สิ่งประดิษฐ์นี้คิดมาเมื่อ 4 ปีก่อน ขณะที่ยังคงทำงานอยู่”นาซ่า” สหรัฐอเมริกา เมื่อ 2 ปีก่อนตัดสินใจซื้อรถคันต้นแบบ เป็นรถใหม่เอี่ยมป้ายแดง โดยได้รับการสนับสนุนงบทั้งหมด จากนายศักดิ์ชัย ตันคงจำรัสกุล นักธุรกิจ จ.อุดรธานี และได้รับความช่วยเหลือเครื่องมือต่างๆ จากมหาวิยาลัยราชภัฎอุดรธานี ซึ่งเคยเรียนอยู่ที่นี่มาก่อน เป็นรถมีเชื้อเพลิง 3 ประเภท คือ น้ำมันเบินซิน , ก๊าซ LPG. และก๊าซไฮโดรเจน มีการทดสอบมาแล้วกว่า 40,000 กม. ยังไม่พบปัญหาใดๆ จึงไปจดสิทธิบัตรไว้เรียบร้อยแล้ว

นายสุมิตร กล่าวต่อว่า รถต้นแบบ “รีแอคเตอร์ 1” เป็นรถที่ใช้พลังผสมระหว่าง เบนซินกับไฮโดรเจน หรือ LPG.กับไฮโดรเจน ในสัดส่วนเบนซินหรือ LPG.40 เปอร์เซ็นต์ กับไฮโดรเจน 60 เปอร์เซ็นต์ ในการทดสอบวิ่งจากกรุงเทพฯมาอุดรธานี 560 กม. ใช้น้ำมันไปเพียง 10 ลิตรเท่านั้น ขณะที่น้ำที่ใช้ผลิตไฮโดรเจนเล็กน้อย อีกราว 3 เดือนอุปกรณ์ชุดนี้ จะเริ่มผลิตออกจำหน่าย ในราคาสูงกว่า LPG. แต่จะต่ำกว่า NGV. ยังไม่รวมค่าติดตั้ง

นายสุมิตรฯ อธิบายถึงอุปกรณ์ว่า จะเริ่มต้นที่น้ำบริสุทธิ์เหมือนน้ำกลั่น(ดีไอโอไนซ์) เติมเข้าไปในเครื่องรีแอคเตอร์ ที่จะแยกไฮโดรเจน และออกซิเจนออกมา เป็น HH-O ผ่านออกมาเซฟตี้วาวล์ ส่งตรงไปที่เครื่องยนต์ หากรถมีหัวฉีดก็ผ่านหัวฉีด ซึ่งทั้งหมดจะควบคุมด้วย คอมพิวเตอร์คอนโทรน ที่ติดตั้งอยู่ภายในตัวรถ เพื่อให้เครื่องผลิตไฮโดรเจน ออกมาเท่าที่เอาไปใช้เท่านั้น จะไม่มีการเก็บรักษาไว้ หากอุณหภูมิ ความดันผิดปกติ ก็จะมีระบบป้องกันตัวเอง
นายสุมิตร กล่าวด้วยว่า ที่ตัดสินใจจดสิทธิบัตรที่ประเทศไทย เพราะต้องการให้เทคโนโลยีนี้ เป็นสมบัติของชาติไทย คนไทยสามารถนำเอามาต่อยอด ในแนวคิดที่หลากหลายมากขึ้น ขณะที่ตนเองก็ต้องพัฒนาด้วยเช่นกัน ซึ่งขณะนี้ก็กำลังพัฒนา “รีแอคเตอร์2” อยู่ แต่หากจดที่สหรัฐอเมริกา จะต้องแจกรายละเอียดทั้งหมด ทำให้สิ่งประดิษฐ์ไม่เป็นความลับ หากมีปัญหาอะไรเกิดขึ้น สิทธิบัตรก็จะเป็นของอเมริกา ไม่ใช่สิทธิบัตรของคนไทย

ผช.จรูญ อธิการบดี ม.ราชภัฎอุดรธานี กล่าวว่า นายสุมิตร เป็นศิษย์เก่าและได้ศึกษาต่อในระดับนานาชาติ ผ่านประสบการณ์มามาก แต่ยังคงแวะเวียนที่ ม.ราชภัฎอยู่ โดยจะแลกเปลี่ยนความรู้กับ อ.วิเชียร จันทะโชติ และมีโอกาสนำเครื่องไม้เครื่องมือ ไปช่วยชิ้นงานประดิษฐ์บ้างเล็กน้อย จนได้เครื่องต้นแบบออกมา นอกจากนี้นายสุมิตรฯยังสนใจ ให้เป็นสถาบันฝึกอบรม บุคลากรติดตั้งเครื่อง รองรับความเครื่องที่จะออกมาจำหน่ายด้วย

………………………………………………………………………………………………

HHO พลังงานอนาคต
ช่วงหลายวันนี้ผมค้นหาข้อมูลพลังงานทดแทน ซึ่งก็ได้พบในเมตาคาเฟ่ถึงการใช้น้ำมาแยกองค์ประกอบกลายเป็นก๊าซ แล้วนำไปใช้ร่วมกับเชื้อเพลิงดีเซล ก็ใช้ได้ดีมาก ควันดำหายไปเหลือแต่น้ำพ่นออกมาปลายท่อ ประหยัดไปได้กว่า 30 % แล้วคนไทยก็ทำขายแล้วอยู่ที่ระยอง ราคา 7000 บาท

ค้นต้อไปก็เจอฝรั่งทำชุดพลังงานให้มอไซค์ เค้าถอดถังน้ำมันทิ้งเลยเติมแต่น้ำเปิดสวิท แล้วสตาร์ทบรึ้มๆ

แต่ไม่บอกรายละเอียดอะไรปล่อยให้โลกงงต่อไป คนภาษาอังกฤษอ่อนด้อยแบบผมไหนเลยจะยอมแพ้ ค้นๆๆๆๆ

คราวนี้ใช้ภาษาไทย โห..ไปเจอบ้านเก่า วีคเอนด์ฮอฟบี้ กลุ่มที่เคยเอาน้ำมันพืชมาเติมรถนั่นเอง เค้าเล่นกันมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ก็ทดลองกันไป ผมซึ่งเป็นแต่รินเหล้าให้ลูกค้ามิบังอาจไปเสนอความคิดอะไรแต่ก้แอบสูบไอเดียหละครับ

เรื่องพลังงานไฮโดรเจนเราเองทางภาครัฐก้ได้มีการทดลองกันนานแล้ว มีโรงงานใหญ่โตเลยหละ http://www.dede.go.th/dede/index.php?id=176 ของกระทรวงพลังงาน

หลายค่ายรถก็มีการทดลองแล้วเช่นกัน ทั้งเป็นแบบเซลพลังงาน และแบบเชื้อเพลิง






แบบเชื้อเพลิงมีปัญหาจากการที่ใช้ไฮโดรเจนบริสุทธิ ที่มีโมเลกุลเล็กมากแล้วมันสามารถซึมผ่านผนังกระบอกสูบลงไปกองอยู่ที่แคร้งเครื่อง รอรวมตัวกับอ๊อกซิเจน พอมีประกายไฟก็ตูม...

แต่จากข้อดีที่มีมากกว่าเชื้อเพลิงแบบอื่นเราก็รอการพัฒนาต่อไป ข้อดีคือ

1. แหล่งพลังงานดั้งเดิมก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งก๊าซชนิดนี้ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลกโดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ ซึ่งเกิดจากการสันดาป (Combustion) ของสารประกอบอินทรีย์ เช่น น้ำมัน แต่พลังงานไฮโดรเจนเป็นพลังงานสะอาด ไม่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก ดังนั้นจึงไม่ส่งผลให้เกิดภาวะเรือนกระจก

2. การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงดั้งเดิม ไม่ว่าจะมาจากยานพาหนะหรือแหล่งอุตสาหกรรมต่าง ๆ ก่อให้ เกิดกลุ่มควันและฝุ่นละออง แต่พลังงานไฮโดรเจนไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศเหล่านี้

3. พลังงานไฮโดรเจนสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานที่ต้องใช้พลังงานดั้งเดิมได้ เช่น ใช้เป็นเชื้อ เพลิงสำหรับครัวเรือน เครื่องยนต์สันดาปภายใน เครื่องกังหัน และเครื่องไอพ่น

4. ค่าพลังงานเชื้อเพลิงที่ได้จากไฮโดรเจนจะมากกว่าค่าพลังงานเชื้อเพลิงไฮโดรคาร์บอน และเชื้อ เพลิงจากแอลกอฮอร์ เช่น เมทานอลและเอทานอลถึง 2.5 และ 5 เท่า ตามลำดับ

5. ก๊าซไฮโดรเจนสามารถนำไปใช้กับเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel cell) ในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาและคาดว่าจะนำมาใช้อย่างกว้างขวางในอนาคต


การผลิตไฮโดรเจนได้จากปฏิกิริยาเคมี และไฟฟ้า ซึ่งการใช้ไฟฟ้านี่แหละง่ายสุด แล้วเรายังควบคุมได้ด้วย
หลักการง่ายๆดังนี้ครับ

เราก็จะได้ทั้งอ็อคซิเจนและไฮโดรเจนพร้อมๆกัน แต่เมื่อมันมีปัญหาในการใช้ไอโดรเจนจากการที่มีโมเลกุลเล็ก แถมเบากว่าอากาศด้วย คงจำเรื่องลูกโป่งระเบิดได้ นั่นแหละไฮโดรเจนเลย เราก็ไม่ต้องแยกไฮโดร กับอ๊อกซิเจนแล้ว เอามันมาทั้งคู่เลย ก็กลายเป็น HHO ก๊าซนี้ ไวไฟมากแค่เจอประกายไฟก็ลุกใหม้เร็วจนกลายเป็นการระเบิด ดังนั้นเราไม่ควรเก็บก๊าชนี้ใว้เลย ทำได้ก็ใช้ไปให้หมด

ตอนนี้ใช้ร่วมกับดีเซลรุ่นเก่าได้ผลดี แต่คอมมอลเรลของเค้าดีอยู่แล้ว ไม่จำเป็น อีกทั้งรถก๊าซแอลพีจีก็เช่นกัน

จากการใช้ไฟฟ้ามาแยกน้ำก็ไม่ได้เปรียบเชิงพลังงานมากนักเพราะต้องใช้กระแสไฟแรงดันสูง แต่ถ้าใช้ร่วมกับเชื้อเพลิงดีเซลแล้ว การลดมลพิษและเชื้อเพลิงก็นับว่าคุ้ม

เวลาแห่งพลังงานหมุนเวียนใกล้เข้ามาแล้วครับ

รูปแบบการทำงานจาก Water4gas





20080827

Oxy-Hydrogen

KNOWLEDGE : Oxy-Hydrogen
Oxy-Hydrogen คืออะไร?
เป็นการที่รวมระหว่าง Hydrogen จำนวน 2 โมล์x และ Oxygen จำนวน 1 โมลล์x ซึ่งก๊าซนี้ เรียกกันหลายชื่อ เช่น Brown's Gas, Egas, Hydroxy, HHO และ Oxy-Hydrogen.
Oxy-Hydrogen ได้มาอย่างไร
เราสามารถแยกก๊าซ Oxygen และ Hydrogen จากน้ำด้วยไฟฟ้า จากกระบวนการที่เรียกว่า "Electrolysis" ซึ่งสามารถทดลองด้วยวิธีง่าย ๆ ตามรูป ซึ่งคุณสมบัติของก๊าซที่ได้สามารถจุดติดไฟได้


Oxy-Hydrogen นำมาใช้อย่างไร?
ก๊าซที่ได้จากการแยก เราสามารถนำมาใช้กับเครื่องยนต์สันดาปภายในได้ ด้วยการจ่ายร่วมไปกับไอดีที่เครื่องยนต์ดึง เข้าสู่ห้องเผาไหม้ ซึ่งจะเข้าไปเสริมการเผาไหม้ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
เครื่องยนต์ดีเซล โดยปกติในแต่ละรอบการจุดระเิบิด ก็จะมีน้ำมันที่เผาไหม้ไม่หมด(ไม่สมบูรณ์) ซึ่งอาจจะอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายกล่าวและเห็นภาพคือ ในน้ำมัน 100 ส่วน ที่ถูกจ่ายเข้าห้องเผาไหม้ เมื่อมีการจุดระเบิดแล้วก็ไม่ได้ถูกเอาไปใช้ให้เต็มประสิทธิภายทั้ง 100 ส่วน จะถูกใช้เพียง 80-85 ส่วน ส่วนที่เหลือก็ถูกผลักออกไปกับไอเสีย แต่เมื่อจ่าย Oxy-Hydrogen เพิ่มเติมเข้าไปกับไอดี ก็จะเข้าไปช่วยให้การเผาไหม้สมบูรณ์ขึ้น ทำให้ได้พลังงานจากน้ำมัน 100 ส่วนนั้นมากที่สุึด

Oxy-Hydrogen มีประโยชน์อย่างไร
ประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้ Oxy-Hydrogen กับเครื่องยนต์เบนซิน และดีเซล คือ
1)ช่วยเพิ่มระยะทางวิ่งได้ตั้งแต่ 10-30%* ต่อน้ำมัน 1 ลิตร (ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดเครื่องยนต์)
2)ช่วยลดมลพิษได้ โดยเฉพาะในเครื่องยนต์ดีเซล ที่สามารถลดควันดำได้อย่างชัดเจน
3)ไม่ต้องติดตั้งถังแก๊สเพิ่ม ไม่ต้องเข้าปั๊มเติมแก๊ส
*ทั้งนี้หากไม่มีการปรับแต่งปั๊มฯ อัตราประหยัดอยู่ระหว่าง 10-20% แต่หากมีการปรับแต่งร่วมด้วย จะสามารถเพิ่มอัตราประหยัดไปเป็น 20-30%
ต่างประเทศ
ในต่างประเทศ มีผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์เหล่านี้อยู่มากมาย รวมถึงข้อมูลการใช้งานต่าง ๆ ซึ่งท่านสามารถศึกษา หาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากการเสริชผ่าน www.google.com จาำก Keyword เหล่านี้ เช่น Oxy-Hydrogen, Hydroxy, HHO, Water Fuel, Water Car, Hydrogen Car



เหมาะสำหรับเครื่องยนต์ประเภทใดบ้าง?
เครื่องยนต์ดีเซล ระบบก่อนคอมมอนเรล : ให้ผลลัพธ์ระหว่าง 15-35% โดยไม่ต้องปรับจูนเครื่องยนต์
Toyota : 15-25%
Ford : 20-35%
Isuzu : 15-20%
Nissan : 15-20%
Mitsubishi : 15-20%
ข้อแนะนำจากต่างประเทศ
เป็นข้อแนะนำสำหรับรถที่ติดตั้ง Catalytic Coverter เมื่อติดตั้ง Hydrogen Generator แล้ว สามารถถอด อุปกรณ์ดังกล่าวออกได้ เพราะภายหลังการติดตั้ง จะช่วยให้มลพิษจากการเผาไหม้ลดน้อยลง จนไม่จำเป็นต้องใช้ Catalytic Converter อีก

ความเห็นจากเว็บบอร์ด PANTIP

จริงๆแล้วเค้าใช้น้ำแทนน้ำมันได้100%แล้วนะครับ ไม่มีน้ำมันหรือ LPG มาเกี่ยวข้อง โดยใช้น้ำใส่เข้าไปในเครื่องแยกที่มีชื่อว่า HHO Generator จะได้ก๊าซออกมา 2 ตัวคือ ไฮโดรเยน+อ๊อกซิเยน หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ไฮดร็อกซี่แก๊ส ซึ่งสามารถใช้จุดระเบิดในเครื่องยนต์ได้ แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าการแยกน้ำจะต้องได้ปริมาณไฮดร็อกซี่แก๊สที่สัมพันธ์กับทุกความเร็วรอบของเครื่องยนต์ การที่จะใช้ไฟฟ้ามาแยกอย่างเดียวคงไม่ได้แน่นอน มันยังมีเรื่องของความถี่มาเกี่ยวข้องด้วย ตรงนี้สำคัญมาก (Resonance) แล้วใช้ไฟฟ้า+ความถี่เท่าไหร่? คงต้องค้นคว้าต่อไป เพราะถ้าทำได้สำเร็จนั่นหมายความว่าคนไทยจะได้ใช้น้ำแทนน้ำมันได้ 100% ไม่ต้องนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศอีกต่อไป...

What is the best alternitive fuel option

Definition

Booster=คือ Electrolyzer ซึ่งจะแยกก๊าสในจำนวนน้อย แล้วส่งแก๊สที่ใด้เข้าทางท่อไอดี ของเครื่องยนต์เข้าห้องเผ่าไหมหรือลูกสูบ

Electrolyte=สารเคมีที่ใช้เป็นส่วนผสมในขบวนการแยกน้ำให้ง่ายขึ้น ชึ่งก็คือ KOH และ NaOH
Electrolysis= ขบวนการแยกน้ำ เป็นไฮดรอเยน และ ออกชิเยน
Electrolyzer=ตัวเครื่องแยกน้ำเป็น Hydroxy Gas ในจำนวนที่ต้องการ โดยการใช้กระแสไฟฟ้าน้อยที่สุด
Electrode=คือโลหะที่ทำหน้าที่เป็นขั้วไฟฟ้าบวกและขั้วลบ ที่อยู่ในสารละลายผสมของน้ำและ Electrolyte แล้วปล่อยให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านสารละลายนั้น

Hydroxy Gas=ก๊าสที่ใด้จากแยกน้ำแล้ว ไฮดรอเยน และ ออกชิเยน จะผสมกันอยู่